ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 08.00 น. - 16.30 น.ณ ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพฯ

 

แบบตอบรับการลงทะเบียน

เข้าร่วมการประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการยื่นขอรับใบอนุญาต

ประกอบกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ชั่วคราว (กิจการโทรทัศน์ที่มีการบอกรับสมาชิก)

โดยคณะทำงานด้านกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่

ในคณะอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ในวันศุกร์ที่  5 กุมภาพันธ์  2553  เวลา 08.00 น. – 16.30 น.

 ห้องคอนเวนชั่น    โรงแรมรามาการ์เด้น  กรุงเทพฯ

 


1.    ข้อมูลส่วนบุคคล

ชื่อ-นามสกุล

สถานที่ติดต่อ

โทรศัพท์                                           โทรศัพท์มือถือ                           โทรสาร

E-mail address                                         

2.    ข้อมูลสถานประกอบการ

ชื่อนิติบุคคล

สถานที่ตั้งประกอบการ

โทรศัพท์                                           โทรศัพท์มือถือ                           โทรสาร

3.  กลุ่มจังหวัดในการลงทะเบียนเข้าร่วมงานรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (โปรดตรวจสอบสถานะว่าอยู่ในกลุ่มใดตามเอกสารแนบ)

            กลุ่ม 1                    กลุ่ม 2                               กลุ่ม 3

4. มีความประสงค์จะ  (สำหรับผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 เท่านั้น)

เข้าพักโรงแรมที่ทาง กทช. จัดหาให้  โดยผู้ประสงค์เข้าพักลงทะเบียนเพื่อเข้าพักได้ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 ได้ตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป (พัก 1 วัน) ณ โรงแรม รามา การ์เด้น กรุงเทพฯ

ไม่เข้าพัก

5. ประเภทอาหาร             ธรรมดา                      มุสลิม                      มังสวิรัติ

6.  โปรดส่งแบบลงทะเบียนเข้ารับฟังความคิดเห็นสาธารณะภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553  พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน  (เลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง)  ดังนี้

o    ทางโทรสาร 02 - 748 7589 

o    ทาง E-mail address : broadcasting_ntc@hotmail.com  โดยตั้งชื่อ file : “ลงทะเบียนเข้าประชุมกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่”

การสำรองที่พัก  สามารถสำรองได้หน่วยงานละ ไม่เกิน 1 ห้อง ห้องละ 2 คน  และ หากต้องการพักเดี่ยวจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมด้วยตนเอง

ผู้ที่ลงทะเบียนภายหลังจากวันที่กำหนดจะไม่สามารถรับสิทธิในการเข้าพักโรงแรม  

หมายเหตุ    1. สามารถตรวจสอบสถานะรายชื่อการลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นฯ ได้ที่ฝ่ายเลขานุการฯ คณะทำงานด้านกิจการทีไม่ใช้คลื่นความถี่  โทร.02-271-0151 ต่อ 881, 183, 185  หรือทาง www.ntc.or.th

 2. แบบลงทะเบียน 1 ใบ ต่อผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น 1 ท่าน

 3. สำนักงาน กทช. ไม่มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้แก่ผู้เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ

 

 

 

 เอกสารแนบ

รายชื่อจังหวัดจำแนกตามกลุ่ม

กลุ่มที่ 1.

1.      กรุงเทพฯ

2.      นนทบุรี

3.      ปทุมธานี

4.      สมุทรปราการ

5.      สมุทรสาคร

6.พระนครศรีอยุธยา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กลุ่มที่ 2.

1.      อุตรดิตถ์

2.      สุโขทัย

3.      ตาก

4.      กำแพงเพชร

5.      พิษณุโลก

6.      พิจิตร

7.      นครสวรรค์

8.      เลย

9.      ชัยภูมิ

10.  ขอนแก่น

11.  นครราชสีมา

12.  สุรินทร์

13.  มหาสารคาม

14.  บุรีรัมย์

15.  ชลบุรี

16.  ระยอง

17.  จันทบุรี

18.  ตราด

19.  นครนายก

20.  ฉะเชิงเทรา

21.  ปราจีนบุรี

22.  ชัยนาท

23.  อุทัยธานี

24.  เพชรบูรณ์

25.  กาญจนบุรี

26.  สุพรรณบุรี

27.  สิงห์บุรี

28.  อ่างทอง

29.  สระบุรี

30.  ลพบุรี

31.  นครปฐม

32.  สมุทรสงคราม

33.  ราชบุรี

34.  เพชรบุรี

35.  ประจวบคีรีขันธ์

36.  ชุมพร

37.  สระแก้ว

 

 

กลุ่มที่ 3.

1.      เชียงใหม่

2.      แม่ฮ่องสอน

3.      พะเยา

4.      เชียงราย

5.      น่าน

6.      แพร่

7.      ลำพูน

8.      ลำปาง

9.      หนองคาย

10.  อุดรธานี

11.  สกลนคร

12.  นครพนม

13.  อุบลราชธานี

14.  กาฬสินธุ์

15.  ศรีสะเกษ

16.  ยโสธร

17.  ร้อยเอ็ด

18.  มุกดาหาร

19.  ระนอง

20.  กระบี่

21.  ภูเก็ต

22.  สุราษฎร์ธานี

 

23.  พัทลุง

24.  ตรัง

25.  นครศรีธรรมราช

26.  พังงา

27.  สงขลา

28.  ปัตตานี

29.  สตูล

30.  นราธิวาส

31.  ยะลา

32.  หนองบัวลำภู

33.  อำนาจเจริญ

 

 

 



--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

กิ๊ฟเก๋ลุยม็อบหน้า ทบ

กิ๊ฟเก๋ลุยม็อบหน้า ทบ

14:54
29/01/2553 กิ๊ฟเก๋พาเที่ยว ตอน ฝ่าสายฝนตะลุยม็อบเสื้อแดงหน้า ทบ ถนนราชดำเนิน มีสัมภาษณ์ ก่อแก้ว และ จตุพร ด้วย สื่อหลักไม่ยอมทำ เราก็ทำของเราเอง 555 บอกไทยรัฐมาแหกตาดูหน่อย มีคนมชุมนุม 300 คนเองหรอ


--
ขอเชิญอ่าน blog.Thanks for visiting!  
news9
http://pnac-th.blogspot.com/  pnac-th
http://nature1951.blogspot.com/ nature1951
http://econnews9.blogspot.com/ econ
http://seminars9.blogspot.com/ ilaw
http://politic9.blogspot.com/ pdc9
http://jaecafe.com/feed
http://elibrary.nfe.go.th/index2.php
http://www.kmutt.ac.th/rippc/info.htm
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/sat191
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/sweetblog

วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น.

งานสัมมนาร้านที่ริมขอบฟ้า "เรื่องเล่าชาวคลอง ๑๕๐ ปี คลองมหาสวัสดิ์"

งานสัมมนาร้านที่ริมขอบฟ้า - ชุดความทรงจำของคนกรุงเทพ
          "เรื่องเล่าชาวคลอง ๑๕๐ ปี คลองมหาสวัสดิ์"

            

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ขอเชิญร่วมเสวนา
        เรื่อง "เรื่องเล่าชาวคลอง ๑๕๐ ปี คลองมหาสวัสดิ์"

            

เล่าเรื่องโดย
              นายแพทย์วัฒนา เทียมปฐม  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธมณฑล
        คุณปทุม สวัสดิ์นำ ชาวบ้านริมคลองมหาสวัสดิ์

            


   
คลองมหาสวัสดิ์ ถือได้ว่าเป็นคลองสำคัญที่ถูกขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๐๓เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมทางน้ำจากกรุงเทพฯออกไปยังหัว เมืองฝั่งตะวันตกอย่าง เช่น เมืองนครปฐมนอกจากนี้บริเวณสองฝั่งคลองเส้นนี้ยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งเป็นสวนผลไม้ สวนผัก และนาข้าวซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ลงมาจนถึงปัจจุบัน คลองมหาสวัสดิ์ได้มีอายุครบ ๑๕๐ ปีสภาพความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะถูกถ่ายทอดโดยปากคำของคนในผู้ สนใจศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง  

            

วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น.

            

ร้านริมขอบฟ้า มุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  
         
        สอบถามเพิ่มเติม โทร ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ หรือ ๐-๒๒๘๐-๓๓๑๙\"\"                    


แผนที่                    

http://www.thaingo.org/xboard/viewthread.php?tid=1006&extra=page%3D1

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

วันที่ 29 ม.ค. 53 และวันที่ 1-3 ก.พ. 53 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

กองประชาสัมพันธ์ กทม.

          นางวรัญญา โรหิตเสถียร รองผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กทม. เปิดเผยว่า สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) กำหนดจัดการสัมมนาโครงการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการนำแผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552-2555 ไปสู่การปฏิบัติใน
วันที่ 29 ม.ค. 53 และวันที่ 1-3 ก.พ. 53 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เพื่อให้หน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน และส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงาน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานด้านแผนระหว่าง สยป. และหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องกับการวางแผนจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการ สัมมนา จำนวน 781 คน
โดยการสัมมนาแบ่งออกเป็น 4 รุ่นๆ ละ 1 วัน ดังนี้
 รุ่นที่ 1 วันที่ 29 ม.ค. 53 สำนัก สำนักงาน ส่วนราชการในสังกัดสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 231 คน
 รุ่นที่ 2 วันที่ 1 ก.พ. 53 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนของสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต เพื่อรับฟังการบรรยาย เรื่อง ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ของสำนักงานเขต
  ที่เป็นตัวชี้วัดบังคับจากหน่วยงานหลักที่เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดตัวชี้ วัด รวมจำนวน 50 คน
 รุ่นที่ 3 วันที่ 2 ก.พ. 53 สัมมนาเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขต กลุ่มกรุงเทพกลาง กรุงเทพตะวันออก และกรุงเทพเหนือ จำนวน 250 คน
  รุ่นที่ 4 วันที่ 3 ก.พ. 53 สัมมนาเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ จำนวน 250 คน 
          จากนั้นระหว่างวันที่ 4-12 ก.พ. 53 สยป. จะเตรียมทีมงานเพื่อออกนิเทศการจัดทำแผนเพิ่มเติม ในกรณีหน่วยงานร้องขอ เพื่อให้การจัดทำแผนมีความถูกต้อง เรียบร้อยและให้แล้วเสร็จทันกับการจัดทำคำของบประมาณ พ.ศ. 2554 ต่อไป

http://www.thaipr.net/nc/readnews.aspx?newsid=A1D72D5363B2C2C2540E94521C86E2F3

ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809/wordcamp-bangkok-2009-pool-party

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงเล็กน้อยก็สำคัญสำหรับคนจน



วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:04:52 น.  มติชนออนไลน์

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงเล็กน้อยก็สำคัญสำหรับคนจน

โดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ผลวิจัยทีดีอาร์ไอชี้การมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงเล็กน้อยก็ทำให้คนตก หล่มความยากจนได้ แนะรัฐรอบคอบสร้างนโยบายสวัสดิการด้านสุขภาพ จากการวิจัยที่เชื่อถือได้  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมด้านสุขภาพอย่างแท้จริงช่วยลดความยากจนได้จริง

 

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยผลการศึกษาชุดโครงการวิจัย "การใช้ข้อมูลการสำรวจมาวัดผลกระทบของโครงการ 30 บาทฯ และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนและ การลดความยากจน และการสร้างดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ"  โดยการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

 

1) การศึกษาผลกระทบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนและการลดความยากจน

2) ดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ

3) แนวทางและทางเลือกในการสร้างตัวแบบสำหรับการวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ประชาชน ได้รับ (Benefit Incidence Analysis) จากเงินอุดหนุนของภาครัฐในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง และนายอรรถกฤต เล็กวิไล โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกัน สุขภาพไทย (สวปก.) ซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)


 การศึกษาผลกระทบของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อค่าใช้จ่ายด้าน สุขภาพของประชาชนและการลดความยากจน  ผู้วิจัยได้คิดค้นวิธีสร้างเส้นความยากจนที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมา เพื่อหาจำนวนคนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพ และนำมาประกอบกับการวัดช่องว่างความยากจน (normalized poverty gap) ที่เพิ่มขึ้นจากการมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในปีต่างๆ  ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาโครงการหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (จากโครงการ 30 บาทฯ) สามารถลดภาระรายจ่ายด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ยากไร้ที่สุดลงจนแทบจะหมดไปในช่วง สามปีแรกของโครงการ 30 บาทฯ ซึ่งในอดีตกลุ่มคนจน (กลุ่มที่อยู่ใต้เส้นความยากจนตั้งแต่แรก) เคยได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของ ประเทศ แต่หลังจากมีโครงการ 30 บาทฯ ขนาดความรุนแรงของความยากจนเพราะสุขภาพในกลุ่มคนจนก็ลดลงจากประมาณร้อยละ 1 จนแทบจะกลายเป็นศูนย์ในปี 2545 และ 2547


อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้มีข้อสังเกตว่า การปรับเส้นความยากจนให้รวมหรือไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (ซึ่งมีความแตกต่างเพียงประมาณ 19-33 บาทต่อคนต่อเดือนเท่านั้น) มีผลทำให้จำนวนคนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพเปลี่ยนแปลงไปถึงร้อยละ 0.25-1.1 ของประชากรทั้งประเทศในปีต่างๆ (หรือประมาณหยาบๆ อยู่ระหว่าง 200,000-600,000 คน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีครัวเรือนจำนวนมากที่เสมือนลอยคอปริ่มน้ำอยู่บริเวณ ใกล้ๆ เส้นความยากจน  และมีนัยเชิงนโยบายว่า ถ้ามีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล (copayment) แต่เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้จำนวนคนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากได้


เมื่อพิจารณาสัดส่วนของครัวเรือนที่จนเพราะรายจ่ายด้านสุขภาพเทียบ กับคนจนทั้งหมดพบว่ามีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก (ประมาณร้อยละ 3-9 ของครัวเรือนที่จน หรือร้อยละ 0.5-2.0 ของครัวเรือนทั้งประเทศ)  และสัดส่วนของครัวเรือนที่จนเพราะรายจ่ายที่เกิดจากการเป็นผู้ป่วยในในโรง พยาบาลก็ยิ่งมีจำนวนน้อยลงไปอีก (ตกประมาณร้อยละ 1 ของครัวเรือนที่จนหรือร้อยละ 0.1-0.2 ของครัวเรือนทั้งประเทศ) แต่ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงส่วนหลังนี้ไม่สำคัญ เพราะตัวเลขที่ต่ำนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วย ในในแต่ละปีมีสัดส่วนที่น้อยกว่าผู้ป่วยนอกมาก 

 

แต่ในขณะเดียวกัน การที่คนที่จนเพราะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นผลจากการเข้านอน โรงพยาบาลบ่งชี้ว่าโครงการที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยนอกยังมีความ สำคัญในด้านการลดความยากจนของคนไทยจำนวนมาก
การศึกษาส่วนที่สอง เรื่อง "ดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ" เป็นการพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ ซึ่งเรามีเงื่อนไข 2 ประการ คือ ประการแรก ประชาชนแต่ละคนได้รับบริการตามความจำเป็นด้านสุขภาพ โดยไม่ขึ้นอยู่กับฐานะหรือความสามารถในการจ่ายของเขา และประการที่สอง  ประชาชนแต่ละคนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายตามความสามารถในการจ่ายของตัวเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นด้านสุขภาพของตน  การศึกษานี้ยังได้นำเสนอตัวอย่างดัชนีชี้วัดความเป็นธรรมด้านสุขภาพรวมสี่ กลุ่มคือ ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและความยากจน  ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพ  ดัชนีที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงบริการสุขภาพ และดัชนีอื่นๆ  ซึ่งดัชนีทุกตัวจะต้องสามารถเชื่อมโยงกับระดับเศรษฐานะได้


การศึกษานี้พยายามให้เกิดการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการกำหนดนโยบาย ที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง เนื่องจากมีการใช้หลักการวิเคราะห์ ฐานความคิด หรือทฤษฎีรองรับแบบผิดๆ  ตัวอย่างเช่น การหาจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะล้มละลายจากการใช้จ่ายด้านสุขภาพ ที่ใช้หลักว่าถ้าครอบครัวไหนมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าร้อยละ 10 ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะล้มละลายเพราะค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ  ซึ่งเมื่อใช้ตัวชี้วัดนี้กับกลุ่มผู้มีสิทธิ์ในโครงการ 30 บาทฯ ก็จะได้ข้อสรุปที่ผิดเพี้ยนไปว่ากลุ่มคนรวยมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย มากกว่ากลุ่มคนจน เนื่องจากข้อมูลบ่งชี้ว่าคนรวยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงกว่าคนจน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเมื่อคนรวยขึ้นก็มักสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น และคนที่มีเงินและสนใจด้านสุขภาพก็มีแนวโน้มจะใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพในสัด ส่วนที่สูงกว่าคนจน    อีกทั้งโดยทั่วไปแล้วครัวเรือนที่อยู่เหนือเส้นความยากจนมากๆ มักจะสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลที่สูงกว่าร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายรวมได้โดยไม่ลำบากนัก แต่ในทางกลับกันสำหรับครัวเรือนที่อยู่เหนือเส้นความยากจนไม่มากนักนั้น มีครัวเรือนจำนวนมากที่มีโอกาสตกหล่มความยากจนจากการมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย


ดร.วิโรจน์ กล่าวว่า ความเป็นธรรมด้านสุขภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน หากใช้ดัชนีจากงานวิจัย จะพบว่า ในส่วนแรกนั้น การได้รับบริการตามความจำเป็นด้านสุขภาพของคนไทยยังขาดแคลนอย่างยิ่ง เนื่องจากคนไข้มีจำนวนมาก แพทย์และพยาบาลมีน้อย ทำให้ดูแลคนไข้ไม่ทั่วถึง ซึ่งแม้กระทั่งคนรวยก็เจอปัญหานี้เหมือนกัน


การศึกษาส่วนที่ 3 เรื่อง "แนวทางและทางเลือกในการสร้างตัวแบบสำหรับวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ประชาชนได้ รับจากเงินอุดหนุนของภาครัฐในโครงการหลักประกันสุขภาพ" โดยได้นำเสนอตัวแบบที่สามารถนำมาใช้คำนวณผลประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการ ใช้จ่ายของภาครัฐ ในโครงการหลักประกันสุขภาพ  4 ขั้นตอนคือ การจำแนกประชากรออกเป็นกลุ่ม การแจกแจงการใช้บริการสาธารณสุขของแต่ละกลุ่มประชากร การคำนวณเงินอุดหนุนของภาครัฐต่อหน่วยบริการ และสุดท้ายวิเคราะห์ขนาดและการกระจายเงินอุดหนุนของภาครัฐไปยังประชากรกลุ่ม ต่าง ๆ

ผลการศึกษานี้ มีส่วนทำลายมายาคติที่ว่ารัฐบาลนำภาษีคนรวยมาอุ้มคนจน เพราะความจริงแล้ว ถึงแม้ว่าคนจนจะได้ประโยชน์จากโครงการ 30 บาทฯ มากกว่าคนรวย แต่เมื่อมาคำนวณหาประโยชน์ที่คนฐานะต่างๆ ได้รับจากการใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐในภาพรวม (ซึ่งรวมโครงการสวัสดิการข้าราชการ และโครงการอื่นๆ ที่รัฐจ่ายสมทบด้วย เช่น โครงการประกันสังคม) ก็จะพบว่าในภาพรวมแล้วคนรวยได้รับประโยชน์มากกว่าคนจน 


ดังนั้นสิ่งที่งานวิจัยนี้เสนอคือ การกำหนดนโยบายที่สำคัญด้านสาธารณสุขควรกำหนดขึ้นโดยมีการศึกษาวิจัยที่มี ตัวชี้วัดและวิธีการตีความข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะนโยบายมีผลกับประชาชนส่วนมาก หากมีการกำหนดนโยบายหรือการประเมินผลที่เป็นผลมาจากการใช้ตัวชี้วัดหรือการ ตีความข้อมูลที่บกพร่องก็อาจทำให้นโยบายหรือมาตรการที่นำมาใช้ก่อให้เกิดผล กระทบที่ไม่พึงปรารถนาและสร้างความเดือดร้อนกับประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้

                               http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1264662441&grpid=&catid=02

--
โปรดอ่านBlog
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=porpayia&month=12-2009&date=07&group=10&gblog=69
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=auntymod
http://www.bloggang.com/index.php?category=20
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=praewkwun&month=10-12-2009&group=27&gblog=15 นาฬิกา+ปฎิทิน

วันศุกร์ที่ 26 ก.พ. นี้ เวลา 8.30 - 13.00 น. ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 306 - 308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2

 

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

อนุ กมธ. วุฒิสภา เตรียมจัดเสวนา “บอร์ดการบินไทย กับการล้มเหลวของการบินไทย”   ในวันที่ 26 ก.พ. นี้

21 ม.ค. 53 -            อนุกรรมาธิการส่งเสริมภาคประชาชนมีส่วนร่วมป้องกันการทุจริตฯ วุฒิสภา จัดเสวนา“บอร์ดการบินไทย กับการล้มเหลวของการบินไทย” ในวันศุกร์ที่ 26 ก.พ. นี้ หวัง ดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินงานของการบินไทย

นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมภาคประชาชนมีส่วนร่วมป้องกันการทุจริตและตรวจสอบการดำเนินการของรัฐ วุฒิสภา เปิดเผยว่า  อนุกรรมาธิการฯ ได้ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา  และเครือข่ายประขาชนตรวจสอบการบินไทย จัดเสวนาเรื่อง “บอร์ดการบินไทย กับการล้มเหลวของการบินไทย” ในวันศุกร์ที่ 26 ก.พ. นี้ เวลา 8.30 – 13.00 น.       ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 306 – 308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2  เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการบริษัทฯ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อกรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  ทั้งนี้ การเสวนาดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมเสวนา กว่า 100 คน

 

 

 

 

 

 

 

เรณู  เขมาปัญญา  /  ผู้สื่อข่าว

มันทนา ศรีเพ็ญประภา/ เรียบเรียง

 

 

                               


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809/wordcamp-bangkok-2009-pool-party

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก