ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมนวลนาฎ อมาตยกุล (ห้องประชุม 208)

สัมมนา "จุดเปลี่ยนมาบตาพุด สู่สังคมสวัสดิการ?"

by : powercat (powercat)
Mail to whoischamp@yahoo.com
IP : (58.9.26.179) - เมื่อ : 8/11/2009 12:08 AM

หลักการและเหตุผล

นับตั้งแต่รัฐบาลได้กำหนดให้ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม ของการพัฒนาประเทศและได้จัดตั้งตั้งนิคมอุตสาหกรรมหนักที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เรียกว่า นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม อื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมพลาสติก โรงงานแยกแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น โดยชักชวนนักลงทุนจากต่างประเทศมาดำเนินการด้วยการให้สิทธิพิเศษหลายประการ ในช่วงเวลาไม่นานจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากและกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ ซึ่งภายหลังการดำเนินการได้ไม่นาน หน่วยงานของรัฐและสื่อมวลชนก็ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากโรงงานอุตสาหกรรม รายงาน สถิติการเจ็บป่วยของชาวระยองเปรียบเทียบกับประชาชนในเขตภาคกลาง (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) และสถิติผู้ป่วยชาวระยองในช่วง 5 ปีแรกของการสร้างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (ระหว่างพ.ศ.2527-2531) เปรียบเทียบกับผู้ป่วยในช่วงเวลา 10 ปีต่อมา (ระหว่าง พ.ศ.2531 – 2541) อัตราป่วยจากโรคต่าง ๆ ใน 5 อันดับแรก เช่น โรคภาวะผิดปกติของทารกที่เกิดในระยะปริกำเนิด (อายุครรภ์ 22 สัปดาห์ไปจนถึง 7 วันหลังคลอด) โรคเนื้องอก (รวมทั้งมะเร็งต่าง ๆ) โรคภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ และระยะหลังคลอด การคลอดโรคที่มีรูปร่างผิดปกติแต่กำเนิด โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน มีอัตราผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น ภายหลังข้อมูลดังกล่าวได้เผยแพร่สู่สาธารณชนแล้ว เริ่มมีการตื่นตัวในกรณีเหล่านี้ แต่ปลายปี พ.ศ.2549 ยังคงเกิดการร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมีทั้งหมด 65 แห่ง ในจำนวนนี้มีโรงงาน 20 แห่ง ที่ใช้สารเคมีอันตราย มีคนงานทั้งหมด 2,461 คน คนงานเหล่านี้มีอาการผิดปกติทางร่างกายด้วยโรคต่าง ๆ 483 คน (ร้อยละ 19.63) นอกจากนี้มีข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมควบคุมมลพิษ ที่ได้เข้าไปตรวจสอบเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2549 พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี 65 แห่งดังกล่าวมีจุดที่สารเคมีมีโอกาสรั่วไหลออกมาสร้างความเดือดร้อนให้กับ ประชาชนและต้องปรับปรุงทั้งหมด 533 จุด ในขณะนี้ได้ปรับปรุงแล้ว 383 จุดและอยู่ในระหว่างดำเนินการอีก 150 จุด

สถานการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษจากโรงงานที่เกิดขึ้น นอกจากที่ชัดเจนว่า สะท้อนถึงความบกพร่องของหน่วยงานรัฐ ปัญหาเชิงกระบวนทัศน์ด้านการพัฒนา ความพยายามที่จะยกเครื่องกฎหมายอีไอเอ การตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรค 2 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่ยังดำเนินการยังไม่สำเร็จ พร้อมกันนี้ยังเสนอให้รัฐต้องกำหนดให้การทำระบบประเมินสิ่งแวดล้อมเชิง ยุทธศาสตร์ (SEA) ซึ่งก่อนดำเนินโครงการต้องมีผลบังคับใช้ นอกจากนั้น การกำหนดว่าในพื้นที่ที่ประกาศเขตควบคุมมลพิษ ต้องกำหนดมาตรฐานสารมลพิษควบคุมจากแหล่งกำเนิดเข้มงวดกว่าพื้นที่อื่นๆ และมีการติดตามและทบทวนทุก 5 ปี ก็ร่วมเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา

อย่างไรก็ดี กรณีปัญหาเหล่านี้ นอกจากสะท้อนปัญหาของนโยบายการพัฒนาที่ชัดเจน งานพัฒนาการด้านสวัสดิการสังคม ยังมีการตื่นตัวเรื่องการทำงาน เช่น มาตรการที่โรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้ให้คนงานที่ต้องทำงานกับสารเคมีมี เวลาทำงานวันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง เพื่อให้มีความปลอดภัยจากอันตรายของสารเคมีมากขึ้น การจัดทำแผนปฏิบัติการลดมลพิษสิ่งแวดล้อมของจังหวัดระยองที่จะเน้นการดูแล ผู้ประสบปัญหามลพิษทั้งภายในและภายนอกนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด รวมทั้งให้จัดตั้งกองทุนรักษาสุขภาพของประชาชนในชุมชนจังหวัดระยอง โดยมีเงินเริ่มต้นของกองทุน 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นกรณีที่น่าสนใจสำหรับการดำเนินการในสังคม
ดังนั้น ด้วยสถานการณ์ปัญหามลพิษของพื้นที่มาบตาพุด ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่จำต้องตระหนัก และร่วมกันติดตามกระบวนการแก้ไข ยังน่าจะเป็นกรณีปัญหาที่สำคัญที่สังคมน่าจะต้องเรียนรู้ สรุปบทเรียน และพัฒนาการไปสู่การพัฒนานโยบายสังคม และนโยบายด้านอื่น ๆ อย่างสมดุล

นิสิตปริญญาเอก สาขาการบริหารสังคม รุ่นที่ 10 คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญร่วมการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "จุดเปลี่ยนมาบตาพุด สู่สังคมสวัสดิการ?"

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2552 เวลา 9.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุมนวลนาฎ อมาตยกุล (ห้องประชุม 208) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

พบกับวิทยากร...
- คุณสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
- ตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
- คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม
- ผศ.ดร.ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ไม่เสียค่าใช้จ่าย



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก