ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2552 เวลา 08.00 - 16.30 น. ณ ห้องเจ้าพระยา ชั้น 2 หอประชุมกองทัพเรือ

วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11527 มติชนรายวัน


ปรับบทบาทภาครัฐ...เปลี่ยนประเทศไทย


คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย



ในวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม สำนักงานคณะกรรมพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กำหนดการประชุมทางวิชาการประจำปี 2552เรื่อง "ปรับบทบาทภาครัฐ..."

ณ ห้องเจ้าพระยา ชั้น 2 หอประชุมกองทัพเรือ เริ่มตั้งแต่เวลา 08.00 น.

หลัง จากชี้แจงวัตถุประสงค์การสัมมนาแล้ว เป็นแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ทิศทางการบริหารกิจการบ้านเมืองของประเทศไทยในอนาคต" โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี

เวลา 10.15-12.00 น. การเสวนา เรื่อง "ปรับบทบาทภาครัฐ...เปลี่ยนการบริหารประเทศไทย" โดย ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ คณบดีคณะรัฐมนตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการ Sasin Institute for Global Affairs สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือซิเมนต์ไทย

ช่วงบ่ายเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่อง

"การกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี" โดย หัวหน้าส่วนราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดนำร่อง

"การกำกับดูแลกิจการที่ดีในภาคเอกชน" โดย ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม ประธานกรรมการตรวจสอบ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย

เวลา 15.30-16.30 น. สัมมนาแนวทางการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดย นายสมชาย ไตรรัตนภิรมย์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด

สำหรับ สาระสำคัญของเนื้อหาที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนกันอาทิ กระแสแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในโลกที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงบทบาทภาครัฐเพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจ สังคม และความคาดหวังของประชาชน

การปรับระบบการบริหารภาครัฐ โดยการจัดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อแก้ไขความขัดแย้งในสังคมไทย การลดกฎเกณฑ์ (deregulation) ซึ่งควบคุมหรือแทรกแซงระบบเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็นในบางเรื่อง เพื่อส่งเสริมให้ส่วนอื่นๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารกิจการบ้านเมือง และ/หรือดำเนินงานร่วมกับภาครัฐมากยิ่งขึ้น

ความเป็นไปได้ในการ เปิดให้ภาคเอกชนมารับหน้าที่ดำเนินการแทนภาครัฐ ความคาดหวังต่อระบบราชการในการให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ และแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ


หน้า 22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก