ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หอภาพยนตร์ฯ เปิดเวทีประลองหนัง : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)


หอภาพยนตร์ฯ เปิดเวทีประลองหนัง : หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

by : pijawat (pijawat)
Mail to rothphai-tom@hotmail.com
IP : (124.122.250.191) - เมื่อ : 7/10/2009 09:48 AM

ชวนมือถ่ายหนังสมัครเล่นร่วมประชัน

ถ่ายทุกข์ ถ่ายสุข ถ่ายสนุก ถ่ายเรื่อยๆ ถ่ายเน้นๆ
หนังบ้านดีๆ ถ่ายเองกับมือ หรือมีเก็บไว้.. ภูมิใจนำเสนอ
หอภาพยนตร์ฯ สนอง ให้คุณได้ฉายบนจอหนัง ชิงรางวัลหนังบ้านดีเด่น

ในวันหนังบ้านสากล ที่จัดกันทั่วโลกในวันที่ 17 ต.ค. นี้!
รีบเขียนลงแผ่นดีวีดีหรือถือฟิล์มไปส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 94 หมู่ 3 ถ.พุทธมณฑลสาย 5 ศาลายา นครปฐม 73170

โทร. 0 2482 2013-5 ติดต่อ คุณเฉลิมพล... (ปิดรับผลงาน 14 ตุลาคม 2552)

ทุกปี นับตั้งแต่ปี 2548 (ค.ศ.2002) เป็นต้นมา มีการกำหนดให้วันเสาร์ที่สองของเดือนสิงหาคมของทุกปีเป็น “วันหนังบ้าน” (Home Movie Day) ที่หลายประเทศทั่วโลกพร้อมใจกันจัดให้เป็นงานเฉลิมฉลองของนักถ่ายหนังมือ สมัครเล่นอย่างเป็นสากล แต่นับจากปีที่แล้ววันหนังบ้านจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่สองของเดือนตุลาคมแทน ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2552

หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ในฐานะหน่วยงานที่เก็บอนุรักษ์หนังบ้านของประเทศไทยไว้มากที่สุด จึงขอเชิญชวนนักถ่ายหนังมือสมัครเล่น ร่วมงานวันหนังบ้าน และส่งหนังบ้านที่ถ่ายเก็บสะสมไว้มาฉายประกวด อวดให้สาธารณชนได้ชม ภาพบันทึกแห่งชีวิต เหตุการณ์ ตัวแทนความรู้สึก ความผูกพันในครอบครัว ผ่านยุคผ่านสมัย ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชุมชนได้เป็นอย่างดี โดยการประกวดหนังบ้านจะจัดแบ่งรางวัลเป็นหมวดหมู่ หนังบ้านประเพณี หนังบ้านเหตุการณ์ หนังบ้านท่องเที่ยว หนังบ้านอมยิ้ม หนังบ้านการแสดง หนังบ้านโบราณ (30 ปีขึ้นไป) และหนังบ้านขวัญใจคนดู

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายในงาน วันหนังบ้าน ศาลายา ซึ่งจัด ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ศาลายา อาทิเช่น การเปิดคลินิกตรวจฟิล์ม การรับบริจาคหนังบ้าน ทั้งฟิล์ม 16 มม. 8 มม. หรือวิดีโอเทปต่างๆ จะมีหมอหนังมารับตรวจรักษาหนังบ้านภายในงาน มีมุมฉายหนัง นิทรรศการให้เลือกชมตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2 482 2013-5 ต่อ 114


ข้อมูลหนังบ้าน

ในอดีตหนังบ้านนิยมถ่ายกันด้วยฟิล์มภาพยนตร์ขนาด ๑๖ และ ๘ มิลลิเมตร แต่ในปัจจุบันกล้องวีดิโอที่หลากหลายและราคาย่อมเยา ทั้งถ่ายทำแสนง่าย ทำให้การถ่ายหนังบ้านเป็นของธรรมดาหรือเป็นสามัญประจำบ้านอีกอย่างหนึ่งไป แล้ว

อย่างไรก็ดี หนังบ้านที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มภาพยนตร์ โดยเฉพาะ ๑๖ และ ๘ มิลลิเมตร ซึ่งเคยมีอยู่มหาศาลทั่วโลก แต่นับวันจะหาดูกันยาก เพราะเครื่องฉายภาพยนตร์ชำรุดไป ฟิล์มซึ่งได้รับการเก็บดูแลไม่ถูกต้องเหมาะสมก็ชำรุดไป ตกไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานก็ถูกทิ้งขว้างไปตลอดเวลา ยกเว้นคนที่เห็นคุณค่าที่รักและหวงแหน ได้พยายามเก็บรักษาไว้ทั้งฟิล์มและเครื่องฉาย แต่คนที่รักส่วนมากมักจะหาทางถ่ายทอดฟิล์มหนังบ้านที่มีอยู่เป็นสื่อดิจิตอล ซึ่งสะดวกในการชมและทำสำเนาแจกจ่ายกัน แต่ก็มีคนจำนวนมากที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เมื่อถ่ายฟิล์มเป็นสื่อดิจิตอลแล้ว ก็คิดว่าได้อนุรักษ์หนังบ้านที่แสนหวงไว้ได้แล้ว เลยพาลปล่อยปละละเลยหรือทิ้งขยะฟิล์มนั้นไปเสียฉิบ กว่าจะรู้ว่าสื่อดิจิตอลยังไม่สามารถเก็บรักษาไว้อย่างถาวรได้ เพราะมันยังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด และเสี่ยงต่อการสูญหายในชั่วพริบตา ก็สายเกินแก้ ได้แต่น้ำตาตก ทำให้นึกถึงคำคมของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งเกษตรสมัยใหม่ไทย ที่ว่า “เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง” เมื่อก่อนใครฟังก็อาจยังไม่ซึ้งถึงใจ แต่ถึงวันนี้ได้เห็นบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ในโลกล้มสูญเป็นแสนๆล้านในพริบตา ก็คงหายสงสัย หากบอกว่า “ดิจิตอลเป็นมายา ฟิล์มนั้นหนาเป็นของจริง” จะว่าอย่างไร

สำหรับประเทศไทย หนังบ้าน หรือบางทีก็เรียก หนังครอบครัว หรือ หนังสมัครเล่น ก็เป็นที่นิยมเล่นกันพร้อม ๆ กับชาวโลกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อมีการผลิตกล้องและฟิล์มถ่ายหนังขนาด ๑๖ มิลลิเมตรออกขาย วงการหนังบ้านไทยรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ ๗ เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระราชนิยม โปรดภาพยนตร์มากและทรงเป็นนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นระดับโลก โปรดให้ตั้ง “สมาคมภาพยนตร์สมัครเล่นแห่งสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์” ทำให้วงการหนังบ้านไทยคึกคักที่สุด น่าเสียดายที่สมาคมต้องยุติไปหลังเกิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กล้องถ่ายภาพยนตร์ขนาด ๘ มิลลิเมตรกลายเป็นยอดนิยม ทำให้วงการหนังบ้านไทยคึกคักอีกครั้ง เล่นกันได้ทั่วไปทั้งเศรษฐีและคนธรรมดา ก่อนที่กล้องวีดิโอและกล้องถ่ายรูปหรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือดิจิตอลซึ่ง สามารถถ่ายคลิปวีดิโอหลายนาทีได้ เข้ามาระบาดพร้อม ๆ กับจอหนังในห้องนั่งเล่นที่บ้านกลายไปอยู่บนจออินเตอร์เน็ตที่คลิกดูได้ พร้อมกันทั้งโลก



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
blog
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.ksmecare.com/docSeminar/520902031848987.pdf
http://www-01.ibm.com/software/th/events/lotusliveevent/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก